เมนู

นี้ อาจารย์บางพวกล่าวว่า อนุคเต ดังนี้ก็มี. ความแห่งบท อนุคเต
นั้น ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.
จบอรรถกถาเมฆิยสูตรที่ 1

2. อุทธตสูตร



ว่าด้วยอำนาจแห่งมาร



[ 90] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สาลวัน อันเป็นที่เสด็จ
ประพาสของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ
มากด้วยกันเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง กลับกลอก ปากกล้า วาจา
พล่อย มีสติหลงลืม ไม่สำนักตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่
สำรวมอินทรีย์ อยู่ในกุฎีที่เขาสร้างไว้ในป่า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค-
เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง
กลับกลอก ปากกล้า วาจาพล่อย มีสติหลงลืม ไม่สำนึกตัว มีจิตไม่
ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ อยู่ในกุฎีที่เขาสร้างไว้ในป่า
ในที่ไม่ไกล.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุมีกายไม่รักษาแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ และถูก
ถีนมิทธะครอบงำแล้ว ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมาร
เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริ
ชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความ

เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแล้วครอบงำถีนมิทธะ พึง
ละทุคติทั้งหมดได้.
จบอุทธตสูตรที่ 2

อรรถกถาอุทธตสูตร



อุทธสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุสินารายํ ได้แก่ ใกล้นครของเจ้ามัลละ ชื่อว่ากุลินารา.
บทว่า อุปวตฺตเน มลฺลานํ สาลวเน ความว่า อุทยานแห่งกุสินารานคร
มีอยู่ในทักษิณทิศและปัจฉิมทิศ เหมือนถูปารามแห่งอนุราธบุรี. ทางจาก
ถูปารามเข้าไปยังนคร โดยประตูด้านทักษิณทิศ ตรงไปด้านปาจีนทิศ
วกกลับทางด้านอุดรทิศ ฉันใด แนวไม้สาละจากอุทยานตรงไปด้าน
ปาจีนทิศวกกลับทางด้านอุตรทิศ ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า
อุปวัตตนะ เป็นที่แวะเวียน ( ทางโค้ง). ในสาลวันของเจ้ามัลละอันเป็นที่
แวะเวียนนั้น. บทว่า อรญฺญกุฏิกายํ ได้แก่ กระท่อมที่สร้างไว้ในที่
อันดาดาษไปด้วยต้นไม้และกอไม้ ไม่ไกลจากแถวต้นสาละซึ่งท่านหมาย
กล่าวไว้ว่า อรญฺญกุฏิกายํ วิหรนฺติ. ก็ภิกษุเหล่านั้นเว้นการพิจารณา มี
ความเพียรย่อหย่อน อยู่ด้วยความประมาท. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อุทฺธตา ดังนี้เป็นต้น.
ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า อุทธตะ เพราะมีจิตไม่สงบ เหตุมาก
ไปด้วยอุทธัจจะ. มานะชื่อว่านฬะ เพราะเป็นเหมือนไม้อ้อ โดยเป็นของ
เปล่า. ภิกษุชื่อว่า อุนนฬะ เพราะมีนฬะ กล่าวคือมานะสูง อธิบายว่า
มีมานะสูงเปล่า. ชื่อว่า จปละ เพราะประกอบหรือมากไปด้วยความ